top of page
IMG_9128.JPEG

THAIFA

THAIFA

ยุคบุกเบิก

จดทะเบียนก่อตั้งเป็นสมาคมครั้งแรก เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ.2511 ในตอนนั้นยังใช้ชื่อว่า "สมาคมตัวแทนขายประกัน" หรือ Underwriters Association โดยมีคุณเฉลิม ตุงคะมณี เป็นนายกสมาคมคนแรกของไทย

 

ยุคปฏิวัติกิจกรรม

ปี พ.ศ.2540  นายมนตรี แสงอุไรพร ได้รับเลือกให้เข้ามาเป็นนายกสมาคม (วาระปี 2540-2546)

คณะกรรมการบริหารมีเจตจำนงค์จะสร้างสมาคมตัวแทนให้เป็นศูนย์รวมของตัวแทนอย่างแท้จริง คณะกรรมการบริหารมีมติเปลี่ยนชื่อสมาคมเป็น "สมาคมตัวแทนประกันชีวิต" (Thai Life Underwriters Association) พร้อมกับเปลี่ยนเครื่องหมาย (โลโก้) ของสมาคมจากเดิมเป็นรูปแบบปัจจุบัน เพื่อให้ดูทันสมัยและเป็นสากลยิ่งขึ้น

สมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงินของไทย ได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดงานสัมมนาตัวแทนประกันชีวิตแห่งเอเชียแปซิฟิค ครั้งที่ 6  ในปี 2544 จากสภาสมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงินเอเซียแปซิฟิค (Asia Pacific Life Insurance Council) ด้วยการสนับสนุนจากหน่วยงานที่สำคัญจากภาครัฐจำนวนมาก

 

นายบุญชัย หรูตระกูล นายกสมาคมวาระปี พ.ศ.2550-2552 ได้เปิดสอนหลักสูตรนี้ FChFP ในวันที่ 5  มิถุนายนพ.ศ. 2550 และท่านเป็นผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์ดี จึงเกิดโครงการที่เป็นความร่วมมือระหว่างสมาคมและองค์กรภายนอกเกิดขึ้นหลายโครงการ อาทิเช่น

  1. โครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาตลาดทุนและธุรกิจประกันภัยไทย

  2. การกำหนดหลักสูตรและวิธีอบรมความรู้เกี่ยวกับการประกันชีวิต สำหรับผู้ขอรับและขอต่อใบอนุญาตเป็นตัวแทน และนายหน้าประกันชีวิต

  3. การเข้าเยี่ยมคำนับรัฐมนตรีกระทรวงการคลังร่วมกับองค์กรอื่นๆทุกครั้งที่มีการเข้ารับตำแหน่งใหม่

  4. ได้รับความไว้วางใจให้เพิ่มงบประมาณในการจัดงานวันประกันชีวิตแห่งชาติในส่วนภูมิภาคเพิ่มขึ้นในทุกปี

  5. ได้รับความไว้วางใจให้เป็นเจ้าภาพจัดงาน APLIC ครั้งที่ 12

  6. ได้รับความไว้วางใจจากเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ในการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารให้เป็นคณะกรรมการอนุญาโตตุลาการ

ยุคที่ปรึกษาการเงิน

นายบรรยง  วิทยวีรศักดิ์ นายกสมาคมวาระปี พ.ศ.2552-2554 ประกาศนโยบายเสริมภาพพจน์ของตัวแทนประกันชีวิตให้เป็นที่ปรึกษาการเงิน สร้างภาพพจน์ของสมาคมให้ประชาชนรู้จักและยอมรับเทียบเท่าสมาคมวิชาชีพอื่น สร้างสมาคมให้เป็นองค์กรของคนรุ่นใหม่  เพิ่มการสื่อสารกับสมาชิก เพิ่มสิทธิประโยชน์ของประชาชนและสมาชิกสมาคม เพิ่มยอดสมาชิกสมาคม 1 เท่าตัว

ผลงานที่โดดเด่นของกรรมการยุคที่ปรึกษาการเงิน

  1. การดูแลผลประโยชน์ของตัวแทนประกันชีวิตในเชิงรุก

  2. การเปลี่ยนชื่อสมาคมเป็นสมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน

  3. การเพิ่มการสื่อสารกับสมาชิก

  4. การเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับสมาชิก 

  5. การเพิ่มยอดสมาชิก

  6. การสร้างภาพพจน์สมาคมในสายตาประชาชน

  7. การให้ความสำคัญกับสมาชิกในภูมิภาค

  8. การจัดสัมมนา APLIC

  9. การสร้างคณะทำงานที่มีความหลากหลาย

  10. การทำกิจกรรม Corporate Social  Resposibility (CSR)

  11. กิจกรรมยกระดับตัวแทนขึ้นไปเป็นที่ปรึกษาการเงิน

bottom of page